top of page

มาทำความรู้จักเลนส์แว่นตาชนิดต่างๆกัน


ก่อนที่ทุกท่านจะทำการตัดสินใจซื้อแว่นตาสักอันเพื่อที่จะนำมาใช้งานกันเนี่ย จำเป็นต้องเลือกทั้งลวดลายของกรอบแว่น วัสดุของกรอบแว่น หรือแม้กระทั่งน้ำหนักของกรอบแว่น เพราะทั้งหมดทั้งมวลแล้วทุกอย่างมีความสำคัญต่อการเลือกสันให้เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างที่จะลืมไปไม่ได้เมื่อต้องการจะเลือกซื้อแว่นตานั้นคือ “ชนิดเลนส์แว่นตา” โดยวันนี้ stunning vintage จะพาทุกท่านไปรู้จักกับชนิดของเลนส์แว่นตาต่างๆเพื่อที่จะได้เลือกซื้อได้ถูกต้องกับการใช้งานจริง

1. เลนส์ชั้นเดียว (Single Vision)

เลนส์ชั้นเดียวคือเลนส์แว่นทั่วไปที่มีรองรับทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยเลนส์ชนิดนี้สิ่งที่ควรดูคือค่า index เพราะเป็นตัวกำหนดว่าเลนส์จะหนาหรือบาง ถ้าเลขยิ่งสูงแว่นก็จะยิ่งบาง โดยค่า index ที่เหมาะกับสายตาแบบต่างๆ มีดังนี้

  • เลนส์ 1.5 คือเลนส์ความหนาปกติ เหมาะกับสายตาสั้นและเอียงไม่มาก

  • เลนส์ 1.6 คือเลนส์ย่อบาง เหมาะกับสายตาสั้นและยาวไม่เกิน 500 เพราะมีขนาดบางกว่าแบบแรก

  • เลนส์ 1.67 คือเลนส์ย่อบางพิเศษ​ เหมาะกับสายตาสั้นและยาวไม่เกิน 1000

  • เลนส์ 1.71 หรือ 1.74 คือเลนส์ย่อบางสั่งพิเศษ สำหรับคนที่สั้นและยาวเกิน 1000

2. เลนส์มัลติโค้ด (Multicoat)

เลนส์มัลติโค้ดคือเลนส์ที่เคลือบสารมัลติเลเบอร์ไว้ทั้งด้านนอกและด้านใน ให้ความคมชัดและตัดแสงสะท้อนได้ โดยที่เลนส์มัลติโค้ทยังสามารถเคลือบแข็งบนผิวเลนส์ (Hard coated) เพื่อไม่ให้เลนส์เป็นรอยขีดข่วน หรือเคลือบ UVX ป้องกันแสงยูวีจากดวงอาทิตย์ได้อีกด้วย

3. เลนส์กรองแสงสีฟ้า (Blue Light Block)

เลนส์กรองแสงสีฟ้า คือเลนส์ที่ช่วยป้องกันดวงตาจากแสงสีฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากอุปกรณ์ไอทีทั้งหลาย อาทิ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หลอดไฟ ฯลฯ ซึ่งหากสายตาได้รับแสงสีฟ้านานๆ อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดต้อหรือโรคต่างๆ ได้ เพราะแสงสีฟ้านี้มีคลื่นความถี่สูงและสามารถทะลุไปถึงนัยน์ตาของเราได้ ดังนั้น หากทำงานหน้าจอหรือเล่นมือถือเป็นประจำ ควรเลือกใช้เลนส์ชนิดนี้

4. เลนส์ออโต้ (Auto Lens)

เลนส์ Auto หรือเลนส์ปรับแสง คือเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความเข้มของสีเลนส์ได้ตามความเข้มของแสงที่ได้รับ สีจางลงเมื่อเข้าที่ร่ม สีเข้มขึ้นเมื่อเจอแดด เหมาะสำหรับคนที่ทำงานออฟฟิศและต้องออกไปกลางแจ้งบ่อยๆ จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแว่นสลับไปมา และไม่ต้องพกแว่นหลายตัว

5. เลนส์กันแดด (Sun Lens)

เลนส์กันแดดก็จะมีหน้าที่ช่วยลดความจ้าของแสงแดดตามชื่อ เหมาะกับการใส่ออกแดดเพื่อไม่ให้ตารู้สึกล้าหรือแสบตา ซึ่งเลนส์กันแดดที่ได้มาตรฐานจะต้องสามารถป้องกันรังสี UVA ได้อย่างน้อย 95% และ UVB ได้อย่างน้อย 99%

การที่เราใส่แว่นกันแดดที่ไม่สามารถกัน UV ได้จริง อาจทำให้เกินอันตรายต่อดวงตาของเราได้ เพราะตัวกันแดดจะทำให้ม่านตาของเราเปิดกว้างขึ้นเมื่อแสงโดนตัดออกไป และจะทำให้รังสี UV เข้ามาในดวงตาของเราเต็มๆ ดังนั้นเราต้องระมัดระวังเรื่องการกัน UV ไว้ให้ดี

6. เลนส์สี (Color Lens)

เลนส์คือเลนส์ที่เคลือบสีต่างๆ ซึ่งสีหลักๆจะทำหน้าที่ต่างกันดังนี้

  • เลนส์สีเทา : ช่วยกรองแสงและตัดแสงจ้าเมื่ออยู่กลางแจ้ง โดยไม่ทำให้สีของวัตถุเปลี่ยนไป

  • เลนส์สีน้ำตาล : ช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดขึ้น มองสีและแสงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เหมาะกับการใส่ขับรถ

  • เลนส์สีเขียว : ช่วยกรองแสง ตัดแสง รู้สึกสบายตาเมื่อทำกิจกรรมกลางแจ้ง

  • เลนส์สีเหลือง : ช่วยเพิ่มแสง มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เหมาะกับการใส่ช่วงเย็นที่แดดไม่จ้ามาก ฟ้าเริ่มมืด หรือใส่ขับรถตอนกลางคืน

7. เลนส์สองชั้น (Bifocal Lens)

เลนส์สองชั้น คือเลนส์แว่นที่มีสองระดับ มีสองค่าสายตาในอันเดียว ทำให้เราเห็นได้ทั้งระยะไกลและใกล้ได้พร้อมกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้โดยกลุ่มลูกค้าที่มีอายุ ซึ่งเลนส์สองชั้นมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ แบบ Flat-top, Executive และ Round โดยเลือกใส่ตามที่ตัวเองรู้สึกสบายตาที่สุด แต่เลนส์ชนิดนี้เริ่มไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะว่าในตำแหน่งด้านล่าง ที่มีไว้มองระยะใกล้ จะมีความนูนออกมาซึ่งทำให้แว่นดูไม่สวยงาม

8. เลนส์โปรเกรซซีฟ (Progressive Lens)

เลนส์โปรเกรซซีฟคือเลนส์ที่มองได้หลายระยะ ทั้งใกล้ กลาง ไกล เป็นเลนส์ที่นิยมใช้ในกลุ่มลูกค้าที่มีอายุ ซึ่งเลนส์ชนิดนี้จะมี Corridor length 11, 13, 15, 17 มิลลิเมตร โดย Corridor แบบสั้นจะเหมาะกับการอ่านหนังสือหรือทำงานผ่านโน้ตบุค ส่วน Corridor แบบยาว เหมาะกับการเล่น PC, ขับรถ หรือการทำงานทั่วๆ ไป เพื่อไม่ให้เกิดภาพวูบวาบทางด้านข้างของเลนส์ เลนส์ Progressive นี้จะเป็นการทำออกมาพิเศษให้ผิวแว่นดูเรียบเนียน เพื่อให้ดูเผินๆแล้วจะเหมือนกับแว่นทั่วไปและไม่ดูเหมือนแว่นคนแก่อย่างแว่นสองชั้น และมีหลายดีไซน์และราคาให้เลือก


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page