top of page

ภัยอันตรายจากแสงสีฟ้าและการป้องกัน

ในวันนี้ stunning vintage จะมาพูดถึงเรื่องของแสงสีฟ้า แสงสีฟ้าหรือที่เรารู้จักกันในชื่อบลูไลท์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแสงปกติที่เราใช้ในการมองเห็นอยู่ทุกวัน ไม่เว้นแม้แต่แสงจากดวงอาทิตย์ แสงสีฟ้าที่เราสัมผัสในชีวิตประจำวันถึงแม้จะมองไม่เห็น แต่ภัยของมันนั้นส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเกิดอาการเสื่อมของเยื่อชั้นในดวงตาเลยทีเดียว

แสงสีฟ้าคืออะไร

อันที่จริงแล้วแสงสีฟ้านั้นแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ประเภทที่มีประโยชน์และประเภทที่มีอันตรายต่อดวงตา โดยประเภทที่มีประโยชน์นั้นเรียกว่าบลูเทอร์ควอยซ์ ซึ่งจะมีผลต่อวัฏจักรการนอน/ตื่น และความจำของเรา ส่วนแสงสีฟ้าประเภทที่มีอันตรายจะเรียกว่าบลู-ไวโอเล็ต ซึ่งแสงสีฟ้าประเภทนี้สามารถส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราได้มากมาย เนื่องจากแสงสีฟ้าประเภทนี้เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น โดยความยาวคลื่นจะอยู่ระหว่าง 380 ถึง 500 นาโนเมตรเพียงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แสงสีฟ้าจึงมีพลังงานสูงมาก

ดวงตาของเราสัมผัสกับแสงสีฟ้าจากทื่ไหน

จริงๆแล้วเราสามารถพบแสงสีฟ้าได้จากทุกแหล่งกำเนิดแสง ฉะนั้นการเลือกที่จะหลบเลี่ยงจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย แสงสีฟ้าสามารถพบได้จากแหล่งพลังงานธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ การที่เรามองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้านั้นก็มีสาเหตุมาจากแสงจากดวงอาทิตย์เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศ จากนั้นแสงคลื่นสั้นที่มีพลังงานสูงของแสงสีฟ้าก็เกิดการปะทะเข้ากับโมเลกุลของน้ำและอากาศจนกระจายออกเต็มท้องฟ้า เราจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้านั่นเอง นอกจากนี้แสงสีฟ้ายังสามารถพบได้จากแสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น หลอดไฟในบ้าน หน้าจอโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และมือถือ โดยจะมีปริมาณความเข้มข้นของแสงสีฟ้าแตกต่างกันไป

ภัยอันตรายจากแสงสีฟ้า

เนื่องจากดวงตาของเรานั้นไม่มีความสามารถที่จะกรองแสงสีฟ้าออกได้หมด ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องรับโทษของแสงสีฟ้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแสงสีฟ้านั้นสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเลยทีเดียว โดยผลกระทบหลักๆนั้นประกอบด้วย

  1. ผลกระทบต่อวัฎจักรการตื่นหรือการนอน เมื่อเรารับแสงสีฟ้าเข้าไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ร่างกายจะเริ่มปรับวัฎจักรการนอน ส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับ ตื่นลำบาก จนรู้สึกว่าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และอาจส่งผลกระทบกับงานหรือชีวิตประจำวันได้

  2. เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งบางชนิด การศึกษาหลายๆงานได้บ่งชี้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับแสงสีฟ้า เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก

  3. เพิ่มโอกาสการเป็นโรคอื่นๆ นอกจากโอกาสในการเป็นมะเร็งจะสูงขึ้นแล้ว โอกาสในการเป็นโรคอื่นๆก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน การศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดได้บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่แสงสีฟ้าจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

  4. ภาวะซึมเศร้า สืบเนื่องมาจากวัฏจักรการตื่นนอนที่เปลี่ยนแปลงไป การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานนั้นสามารถก่อให้เกิดภาวะเครียดและซึมเศร้าได้ไม่ยาก

  5. เยื่อชั้นในดวงตาเสื่อม การได้รับแสงสีฟ้าติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆนั้นอาจส่งผลให้เยื่อชั้นในดวงตาเสื่อมซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ ในปัจจุบันมีหลักฐานทางการแพทย์ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้มากขึ้น

เราจะป้องกันตนเองจากแสงสีฟ้าได้อย่างไรบ้าง

เทคโนโลยีในปัจจุบันมีส่วนช่วยให้เรามีทางป้องกันแสงสีฟ้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเราสามารถป้องกันได้ง่ายๆด้วยการใช้เลนส์กันแสงสีฟ้าหรือก็คือแว่นที่ออกแบบเลนส์มาเป็นพิเศษเพื่อกันแสงสีฟ้าออกไปโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้เราก็จำเป็นต้องใส่ใจในขั้นตอนของการเลือกแว่นด้วยเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันมีร้านค้าจำนวนมากแอบอ้างสรรพคุณนี้ หากเลือกซื้อแว่นที่ไม่มีคุณภาพนอกจากจะไม่สามารถกรองแสงสีฟ้าได้ตามที่กล่าวอ้างแล้ว ตัวเลนส์อาจทำมาจากวัสดุที่ไม่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลเสียทำให้ดวงตาของเรารับภาระมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการเลือกแว่นจากผู้ค้าที่เชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page